บริษัท ศุขเศรษฐ์ จำกัด บ้านระบบพรีคาสท์สร้างเร็วแข็งแรงงบไม่บานปลาย จำหน่ายวัสดุก่อสร้างซื้อขายอสังหา,บ้านที่ดิน,ปรึกษาแบบบ้าน,คุยกับสถาปนิกsukkhasethPrecast concreteรับสร้างบ้านระบบ(Precast concrete)สร้างเร็วเสร็จภายใน 90 วัน

  เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก   
  ตะกร้าสินค้า (0)       

 

โครงสร้างสำเร็จรูปคืออะไร

 

โครงสร้างสำเร็จรูป คือ  โครงสร้างของอาคารที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้าง  เช่น  ฐานราก  เสา  คาน  พื้น  ถูกผลิตจากโรงงาน  แล้วจึงขนส่งชิ้นส่วนเหล่านี้มาประกอบติดตั้งในสถานที่ก่อสร้าง  โดยวัสดุที่นำมาผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปนั้น   มีหลายประเภท  เช่น  ไม้  เหล็ก  คอนกรีตเสริมเหล็ก  และคอนกรีตอัดแรง  เป็นต้น  ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปที่ผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็กและคอนกรีตอัดแรงเท่านั้น

 รูปที่ 1  รูปบ้านที่ใช้โครงสร้างคานสำเร็จรูป

รูปที่ 1  รูปบ้านที่ใช้โครงสร้างผนังสำเร็จรูป

 

ประโยชน์ของระบบโครงสร้างสำเร็จรูป 

 

ประโยชน์ในด้านการควบคุมคุณภาพในการก่อสร้าง 

                     ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป สามารถควบคุมคุณภาพของชิ้นส่วนโครงสร้างแต่ละชิ้นได้ดีกว่าการหล่อโครงสร้างในที่  เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่เป็นการผลิตในโรงงาน  การเทคอนกรีตกระทำบนพื้นราบปฏิบัติงานได้ง่าย  มีลักษณะงานที่ปฏิบัติซ้ำ ๆ เดิมทำให้ข้อผิดพลาดจากการอ่านแบบลดลง  มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนระหว่างการทำงาน  และเมื่อนำชิ้นส่วนไปประกอบติดตั้ง  ความละเอียดถูกต้องในงานติดตั้งจะถูกบังคับด้วยระยะและขนาดของชิ้นส่วนโดยอัตโนมัติ  การผลิตและการติดตั้งที่ผิดพลาดจะส่งผลให้โครงสร้างมีลักษณะผิดปกติ  สังเกตง่าย  และส่งผลให้การทำงานยุ่งยากจนต้องแก้ไขงานติดตั้งที่ผ่านมาให้ถูกต้องเสียก่อน

รูปที่ 2  รูปแสดงความสะอาดเรียบร้อยของการใช้โครงสร้างสำเร็จรูป

ประโยชน์ในด้านการลดจำนวนแรงงานในการปฏิบัติงาน

การประกอบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป ใช้แรงงานในการติดตั้งน้อยกว่าการหล่อโครงสร้างในที่ถึง 1 ใน 3  ทำให้ลดต้นทุนในการบริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน  เช่น  ที่พักอาศัยชั่วคราว  ความสะดวก  และสาธารณูปโภคสำหรับแรงงาน  การควบคุมความปลอดภัยและปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ส่วนแรงงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปนั้น  จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีของเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ

ประโยชน์ในด้านการลดระยะเวลาในการก่อสร้าง 

การก่อสร้างระบบโครงสร้างสำเร็จรูปใช้เวลาในการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างในสถานที่ก่อสร้างน้อยกว่า 1 ใน 4 ของเวลาก่อสร้างของโรงสร้างหล่อในที่  การทำงานไม่ต้องรอเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต  ไม่ต้องมีการเข้าแบบและค้ำยัน  สภาพภูมิอากาศระหว่างการทำงานเป็นอุปสรรคต่อการทำงานน้อย  และหากการวางแผนงานมีความละเอียดคำนึงถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานได้ครบถ้วน จะยิ่งทำให้ระยะเวลาการก่อสร้างลดลงได้อีก

ประโยชน์ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม

การวางแผนในการทำงานสำหรับการก่อสร้าง โดยใช้ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป  ทำให้ลดความสูญเสียของวัสดุในการผลิต  เช่น  น้ำ  คอนกรีต  ไม้แบบ  และเหล็กเสริม  จึงเป็นการประหยัด และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า  การทำงานใช้แรงงานจำนวนน้อย  ทำให้ลดการบริโภคทรัพยากรที่เกี่ยวกับแรงงาน  ลดปริมาณขยะและของเสียที่จะเกิดขึ้น  การวางแผนการขนส่งที่สามารถจัดส่งวัสดุเข้าสู่สายการผลิต  และกระจายสู่สถานที่ก่อสร้างในปริมาณครั้งละมาก ๆ ลดความซ้ำซ้อนในการจัดส่ง  ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงและพลังงานในการขนส่ง  อีกทั้งการติดตั้งระบบโครงสร้างสำเร็จรูปที่เป็นระบบและมีระเบียบก่อให้เกิดมลภาวะทางด้านฝุ่นละอองลดลงได้มาก

 

 

 

ตารางที่ 1 

แสดงระยะเวลาที่ใช้ในการออกแบบทั่วไปสำหรับโครงสร้างประเภทต่าง ๆ 

 

 

โครงสร้าง

หล่อในที่

โครงสร้างสำเร็จรูปชนิดเสาคาน

โครงสร้างสำเร็จรูปชนิดผนังรับแรง

โครงสร้าง

หล่อในที่

โครงสร้างสำเร็จรูปชนิดเสาคาน

โครงสร้างสำเร็จรูปชนิดผนังรับแรง

โครงสร้าง

หล่อในที่

โครงสร้างสำเร็จรูปชนิดเสาคาน

โครงสร้างสำเร็จรูปชนิดผนังรับแรง

บ้านพักอาศัย 

30  วัน

30  วัน

30  วัน

15 วัน

30 วัน

15 วัน

30 วัน

บ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ 

(1,000  ตร.ม.ขึ้นไป) 

ชนิดของโครงสร้าง 

ระยะเวลาในการออกแบบขออนุญาต 

ระยะเวลาในการออกแบบก่อสร้าง 

ระยะเวลาในการออกแบบผลิต 

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

อาคารพาณิชย์ไม่เกิน 3 ชั้น 

30 วัน

30 วัน

30 วัน

15 วัน

15 วัน

15 วัน

15 วัน

ทาว์นโฮม 

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

หอพักไม่เกิน 8 ชั้น 

30 – 60 วัน

30 – 60 วัน

30 – 60 วัน

15 วัน

30 วัน

15 วัน

30 วัน

อาคารสูง 

60 วันขึ้นไป

60 วันขึ้นไป

60 วันขึ้นไป

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

โกดังโรงงาน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

15 วัน

15 วัน

15 วัน

15 วัน

โกดังโรงงานขนาดใหญ่ 

(1,000 ตร.ม.ขึ้นไป)

30 – 60 วัน

30 – 60 วัน

30 – 60 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

30 วัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเหตุ   หากอาคารมีความซับซ้อนต้องคำนึงถึงแรงแผ่นดินไหว  ต้องมีระยะเวลาในการออกแบบเพิ่มขึ้น 


ตารางที่ 2
แสดงตัวอย่างงวดงานสำหรับโครงสร้างหล่อในที่โดยทั่วไป

งวดที่

ลักษณะงาน

เปอร์เซ็นต์ที่เบิก

1 

เบิกล่วงหน้า

10%

2

เทโครงสร้างชั้นที่ 1

20%

3

เทโครงสร้างชั้นที่ 2

20%

4

เทโครงสร้างชั้นที่ 3

20%

5

เทโครงสร้างชั้นดาดฟ้า

20%

6

เก็บรายละเอียด

10%

 

ตารางที่ 3
แสดงตัวอย่างงวดงานสำหรับโครงสร้างสำเร็จรูปโดยทั่วไป

งวดที่

ลักษณะงาน

เปอร์เซ็นต์ที่เบิก

1 

เบิกล่วงหน้าสำหรับสร้างแบบผลิต

30%

2

หล่อชิ้นส่วนพร้อมจัดส่ง

40%

3

ติดตั้งโครงสร้างชั้นที่ 1

10%

4

ติดตั้งโครงสร้างชั้นที่ 2

5%

5

ติดตั้งโครงสร้างชั้นที่ 3

5%

6

ติดตั้งโครงสร้างชั้นดาดฟ้า

5%

7

เก็บรายละเอียด

5%

 ประเภทของโครงสร้างสำเร็จรูป

โครงสร้างสำเร็จรูปในส่วนที่ชิ้นส่วนผลิตจากคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือคอนกรีต      อัดแรง  สามารถแบ่งประเภทตามพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างดังนี้

โครงสร้างสำเร็จรูปที่ชิ้นส่วนเป็นโครงสร้างในการรับน้ำหนักของอาคาร

โครงสร้างชนิดนี้ออกแบบให้ชิ้นส่วนของโครงสร้างรับแรงทั้งหมดที่เกิดขึ้น  เช่น  น้ำหนัก  อาคาร  แรงลม  และแรงแผ่นดินไหว  เป็นโครงสร้างที่มีผลต่อความมั่นคงของอาคาร  สามารถแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ตามลักษณะของชิ้นส่วนที่รับแรงภายในโครงสร้างได้ดังนี้

โครงสร้างสำเร็จรูประบบเสาคาน  (Skeleton – Frame Structure)

เป็นโครงสร้างสำเร็จรูปที่ใช้ชิ้นส่วนเสาและคาน  ในการถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานราก  ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างขึ้นอยู่กับรอยต่อระหว่างเสาและคาน  การวิเคราะห์โครงสร้างประเภทนี้ใช้สมมติฐานของการออกแบบโครงข้อแข็ง  (Moment – Resisting Frames)

 

 

รูปที่ 3  รูปโครงสร้างเสาคานสำเร็จรูป

 

โครงสร้างสำเร็จรูประบบผนังรับแรง  (Load Bearing Wall Structure)

เป็นโครงสร้างสำเร็จรูปที่ใช้ผนังในการถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากแทนเสาและคาน  ส่วนแรงด้านข้างจะถูกถ่ายจากพื้นเพื่อให้ผนังรับแรงเฉือนที่เกิดขึ้น  การวิเคราะห์โครงสร้างประเภทนี้ใช้สมมติฐานการออกแบบให้ผนังรับแรงเฉือน  (Shear Wall)  ในบางครั้งการออกแบบโครงสร้างเพื่อให้เกิดความประหยัดและเหมาะสมกับการใช้งาน  ผู้ออกแบบสามารถออกแบบผสมผสานกันระหว่างโครงสร้างสำเร็จรูประบบเสาคานและโครงสร้างสำเร็จรูประบบผนังรับแรงได้  แต่การวิเคราะห์โครงสร้างต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดถูกต้อง  อีกทั้งการก่อสร้างต้องเป็นไปตามสมมติฐานที่ใช้ในการออกแบบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 4  โครงสร้างระบบผนังรับแรง

 

โครงสร้างสำเร็จรูปที่ชิ้นส่วนไม่เป็นโครงสร้างในการรับน้ำหนักของอาคาร

โครงสร้างชนิดนี้ชิ้นส่วนของโครงสร้างไม่มีส่วนในการถ่ายแรงลงสู่ฐานราก  เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อให้รับแรงที่เกิดจากการใช้งานของชิ้นส่วนนั้นเองเช่น  น้ำหนักของชิ้นส่วน  แรงลมที่กระทำต่อชิ้นส่วน  ส่วนใหญ่ใช้แทนการก่ออิฐฉาบปูน  พบมากในผนังภายนอกของอาคารสูง  และผนังภายในที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน

วัสดุพื้นฐานในงานโครงสร้างสำเร็จรูป

คอนกรีต 

-                 คอนกรีตที่ใช้หล่อชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป 

คอนกรีตในส่วนนี้เป็นคอนกรีตที่ถูกผลิตและลำเลียงมาเทลงในแบบหล่อที่เตรียมไว้     ในโรงงาน  การควบคุมคุณภาพคอนกรีต  ต้องควบคุมให้คอนกรีตได้กำลังอัดตามที่ออกแบบไว้  มีความข้นเหลวที่สามารถทำงานได้สะดวก  มีการจี้คอนกรีตสดเพื่อให้คอนกรีตแน่นตัว  และมีการบ่มคอนกรีตอย่างทั่วถึงทั้งชิ้นงาน  กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้งานในโรงงานแบ่งตามชนิดของชิ้นส่วนโครงสร้างดังแสดงในตารางที่ 4


 

 

ตารางที่ 4
ตารางแสดงกำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้หล่อชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป

ชิ้นส่วนโครงสร้าง

ชนิดของโครงสร้าง

กำลังอัดที่ 28 วัน

(กก./ตร.ซม.)

กำลังอัดขณะถอดแบบ

(กก./ตร.ซม.)

ฐานราก 

คอนกรีตเสริมเหล็ก

240

140

เสา 

คอนกรีตเสริมเหล็ก

350

240

เสา 

คอนกรีตอัดแรง

400

240

คาน 

คอนกรีตเสริมเหล็ก

350

240

คาน 

คอนกรีตอัดแรง

400

240

พื้น 

คอนกรีตเสริมเหล็ก

350

240

พื้น

คอนกรีตอัดแรง

400

240

ผนัง

คอนกรีตเสริมเหล็ก

350

240

 

หมายเหตุ     กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้เป็นกำลังอัดของแท่งคอนกรีตทรงกระบอก  และค่าที่ใช้อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบ 

 

เหล็กเสริม

-                 เหล็กเสริมไม่อัดแรง 

เหล็กเสริมไม่อัดแรงเป็นเหล็กเสริมทั่วไปในคอนกรีต  ใช้ในส่วนที่คอนกรีตเกิดแรงดึงเมื่อโครงสร้างรับน้ำหนัก  เหล็กเสริมไม่อัดแรงส่วนใหญ่ที่ใช้ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมี 2 ชนิด  คือ  เหล็กเส้นกลม  (Round Bar)  และเหล็กข้ออ้อย  (Deformed Bar)

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 5
ตารางแสดงชื่อขนาด  ขนาดระบุ  และมวลระบุของเหล็กเส้นกลม
(ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  มอก.20 – 2543)

ชื่อขนาด 

ขนาดระบุ 

มวลระบุ  (WN)

kg/m

เส้นผ่าศูนย์กลางระบุ 

(dN)

mm

พื้นที่ภาคตัดขวางระบุ 

(sN)

mm2

RB 6

6

28.3

0.222

RB 8

8

50.3

0.395

RB 9

9

63.6

0.499

RB 10

10

78.5

0.616

RB 12

12

113.1

0.888

RB 15

15

176.7

1.387

RB 19

19

283.5

2.226

RB 22

22

380.1

2.984

RB 25

25

490.9

3.853

RB 28

28

615.8

4.834

RB 34

34

907.9

7.127

 

หมายเหตุ  สมบัติในการดึง  ความต้านแรงดึง  ต้องไม่น้อยกว่า  385  เมกะพาสคัลความต้นแรงดึงที่จุดคราก  ต้องไม่น้อยกว่า  235  เมกะพาสคัล ความยืด  ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ  21 


 

ตารางที่ 6
ตารางแสดงชื่อขนาด  ขนาดระบุ  และมวลระบุของเหล็กข้ออ้อย
(ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  มอก.24 – 2548)

ชื่อขนาด 

ขนาดระบุ 

มวลระบุ  (WN)

kg/m

เส้นผ่าศูนย์กลางระบุ 

(dN)

mm

พื้นที่ภาคตัดขวางระบุ 

(sN)

mm2

DB 6

6

28.3

0.222

DB 8

8

50.3

0.395

DB 10

10

78.5

0.616

DB 12

12

113.1

0.888

DB 16

16

201.1

1.578

DB 20

20

314.2

2.466

DB 22

22

380.1

2.984

DB 25

25

490.9

3.853

DB 28

28

615.8

4.834

DB 32

32

804.2

6.313

DB 36

36

1,017.9

7.990

DB 40

40

1,256.6

9.865

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการทำงานในการก่อสร้างโดยใช้ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป 

การก่อสร้างโดยใช้ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป  ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากหลายฝ่าย  ตั้งแต่ฝ่ายเจ้าของงาน  ฝ่ายผู้ออกแบบ  ฝ่ายผู้ผลิต  ตลอดจนถึงฝ่ายผู้รับเหมา  ร่วมกันทำงานเพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง  ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความจำเป็นที่ต้องเข้าใจถึงลักษณะการทำงาน  การจัดลำดับงาน  และภาพรวมของการทำงานในระบบการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างสำเร็จรูป  ซึ่งสามารถสรุปลำดับขั้นตอนการทำงานได้ดังภาพ

 

ขั้นตอน 

การออกแบบ

ç 

ขั้นตอน 

การผลิต 

ç 

ขั้นตอน 

การขนส่ง 

ç 

ขั้นตอน 

การติดตั้ง 

  • ออกแบบสถาปัตยกรรม 
  • ออกแบบโครงสร้าง 

-      ออกแบบชิ้นส่วน

-      ออกแบบรอยต่อ 

  • ออกแบบรายละเอียด

 

  • จัดหาวัสดุ
  • ประกอบชิ้นส่วนและเทคอนกรีต
  • ตรวจสอบคุณภาพ
  • จัดเก็บสินค้าเพื่อรอจัดส่ง

 

  • การจัดบรรทุก
  • กำหนดลำดับการจัดส่ง
  • ตรวจสอบเส้นทาง
  • รายงานผลการจัดส่ง

 

  • จัดเตรียมสถานที่กองชิ้นส่วน
  • จัดเตรียมเครื่องจักร
  • วางแผนการทำงาน
  • ประกอบและติดตั้ง
  • ตรวจสอบคุณภาพ

 

 

 

 

บทที่ 2 


ขั้นตอนการออกแบบ 

 

การออกแบบโครงสร้างสำเร็จรูปมีลักษณะการทำงานคล้ายกับการออกแบบโครงสร้างหล่อในที่ ตามปกติโดยทั่วไป  คือ เริ่มจากทางเจ้าของโครงการให้สถาปนิกออกแบบให้อาคารมีรูปแบบการใช้งานตามที่ต้องการ ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร  จากนั้นจึงส่งต่อให้วิศวกรทำการออกแบบโครงสร้างเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน  เพียงแต่สถาปนิกและวิศวกรควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างสำเร็จรูปเพิ่มเติม  เพื่อให้การออกแบบนั้นมีความชัดเจนและง่ายต่อการปฏิบัติงาน

การออกแบบโครงสร้าง

การออกแบบโครงสร้างสำเร็จรูป มีวิธีการคำนวณเหมือนกับการออกแบบโครงสร้างหล่อในที่ทุกประการ  เริ่มตั้งแต่ทำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยมีน้ำหนักและแรงกระทำต่อโครงสร้างอาคารตามข้อกำหนดในการออกแบบต่าง ๆ เช่น  พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร  กฎกระทรวง  จากนั้นจึงทำการออกแบบโครงสร้างโดยชิ้นส่วนของโครงสร้างออกแบบโดยอาศัยทฤษฎีการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง  ส่วนในรอยต่อของโครงสร้างมักใช้ทฤษฎีการออกแบบโครงสร้างเหล็กมาใช้ในการออกแบบ  เพียงแต่วิศวกรผู้ออกแบบต้องวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างให้ถูกต้องตามพฤติกรรมการรับแรงจริงที่เกิดขึ้นเมื่อทำการก่อสร้าง  พฤติกรรมการรับแรงดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทของชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป  และลักษณะรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน  ซึ่งสามารถแยกเป็นประเภทได้ดังนี้

ชิ้นส่วนฐานรากสำเร็จรูป  (Precast Footing)

ฐานรากสำเร็จรูปเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักอาคารทั้งหมดลงสู่พื้นดิน  หรือเสาเข็มการออกแบบฐานรากสำเร็จรูป มักออกแบบเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กตามปกติ  เพียงแต่เทคอนกรีตในส่วนของกรอบฐานรากจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปเพื่อเป็นแบบหล่อสำหรับนำไปติดตั้งและเทคอนกรีตส่วนที่เหลือที่ไซน์งาน

 

ชิ้นส่วนเสาสำเร็จรูป  (Precast Column)

เสาสำเร็จรูป เป็นชิ้นส่วนที่ถ่ายน้ำหนักจากคานลงสู่ฐานราก แรงกระทำในเสาส่วนใหญ่เป็นแรงอัดที่เกิดจากน้ำหนักของอาคาร แต่จำเป็นต้องออกแบบเสาให้มีความเหนียวเพียงพอในการรับแรงดัดที่เกิดจากการเยื้องศูนย์แรงดัดที่ถ่ายมาจากคานหรือแรงดัดที่เกิดจากกระทำด้านข้าง เช่น แรงลมหรือแรงแผ่นดินไหว  ตามข้อกำหนดในแต่ละพื้นที่  ที่ทำการก่อสร้าง  การออกแบบเสา  สามารถออกแบบเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  หรือออกแบบเป็นโครงสร้างคอนกรีตอัดแรงก็ได้

ชิ้นส่วนคานสำเร็จรูป  (Precast Beam)

คานสำเร็จรูปทำหน้าที่รองรับพื้นและถ่ายแรงลงสู่เสา  แรงที่เกิดขึ้นในคานส่วนใหญ่เป็นแรงดัด  พฤติกรรมการรับน้ำหนักของคาน สามารถออกแบบให้เป็นคานช่วงเดียวธรรมดาในการรับน้ำหนัก หรือออกแบบเป็นคานต่อเนื่องในการรับน้ำหนักก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะรอยต่อคานที่ใช้ในการก่อสร้าง  หากต้องการให้พฤติกรรมการรับแรงของคานที่ออกแบบเป็นคานช่วงเดียวธรรมดาให้ใช้รอยต่อเป็นรอยต่อแบบไม่ยึดแน่น  แต่หากต้องการให้พฤติกรรมการรับแรงของคานที่ออกแบบเป็นคานต่อเนื่องให้ใช้รอยต่อแบบยึดแน่น  ส่วนการออกแบบชิ้นส่วนคานสามารถออกแบบเป็นคานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือคานคอนกรีตอัดแรงก็ได้  ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ออกแบบ

ชิ้นส่วนพื้นสำเร็จรูปชนิดตัน  (Solid Plank Slab)

พื้นสำเร็จรูปชนิดตันนี้ ใช้รับน้ำหนักการใช้งานของอาคาร  ที่มีช่วงความยาวของจุดรองรับไม่มากนัก  โดยความสามารถในการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นขึ้นอยู่กับความยาวช่วงของจุดรองรับ  และจำนวนลวดอัดแรงในแผ่นพื้น  พฤติกรรมการถ่ายแรงของแผ่นพื้นเป็นการถ่ายแรงแบบแผ่นพื้นทางเดียว  สามารถออกแบบให้เป็นแผ่นพื้นช่วงเดียวในการรับแรง  หรือออกแบบให้เป็นแผ่นพื้นต่อเนื่องในการรับแรงก็ได้เพียงแต่ต้องเสริมเหล็กบนสำหรับรับโมเมนต์ลบในส่วนของคอนกรีตทับหน้า  ส่วนการออกแบบหน้าตัดมักออกแบบเป็นพื้นคอนกรีตอัดแรงที่มีหน้าตัดประกอบระหว่างคอนกรีตที่หล่อจากโรงงาน  และคอนกรีตทับหน้าที่เทคอนกรีตส่วนที่เหลือตามความหนาในการออกแบบที่ไซด์งาน

 

ชิ้นส่วนผนังสำเร็จรูป  (Precast Wall)

ชิ้นส่วนผนังสำเร็จรูปเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  ที่ใช้ติดตั้งแทนผนังก่ออิฐ     ฉาบปูน  แผ่นผนังสำเร็จรูปที่มีการรับน้ำหนักในแนวดิ่งแทนเสาเรียกว่าผนังรับแรง  ส่วนแผ่นผนังที่ไม่มีการรับน้ำหนักในแนวดิ่งแทนเสาเรียกว่าผนังตบแต่ง  การวิเคราะห์แรงกระทำในแผ่นผนังควรใช่ทฤษฎีแผ่นเปลือก  (Plate and Shell)  ในการวิเคราะห์  ส่วนการออกแบบรอยต่อควรคำนึงถึงความแข็งแรงของรอยต่อในแนวดิ่งเป็นพิเศษ  แผนผนังสำเร็จรูปที่มีช่องเปิดต่าง ๆ เช่น  ช่องประตู  ช่องหน้าต่าง  ควรมีการเสริมเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรงรอบช่องเปิดนั้น

ขั้นตอนการผลิต  

การผลิต  เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง สำหรับการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างสำเร็จรูป  เนื่องจากชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปส่วนใหญ่ถูกผลิตจากโรงงาน  เป้าหมายของการผลิต คือ การควบคุมการผลิตให้ได้ชิ้นส่วนที่มีขนาดถูกต้อง  มีคุณภาพและแข็งแรง  ตามที่วิศวกรได้ออกแบบคำนวณไว้  มีการผลิตตามลำดับและทันต่อความต้องการในการติดตั้ง  องค์ประกอบของความสำเร็จในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปมาจากหลายส่วน  เช่น  ในส่วนของแบบผลิตต้องมีความละเอียดถูกต้องและง่ายต่อการทำงาน  ส่วนของระบบการตรวจสอบต้องสามารถตรวจสอบหาความบกพร่องและสาเหตุของความบกพร่องในการผลิต  และสุดท้ายในส่วนของผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการทำงาน  อีกทั้งยังต้องมีสำนึกในการรักษาคุณภาพของการผลิตอย่างสม่ำเสมอ

การหล่อชิ้นส่วน

การหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปมีขั้นตอนการทำงานคล้ายกับการหล่อโครงสร้างในที่  แตกต่างกันเพียงแต่การหล่อชิ้นส่วนในโรงงานจะปฏิบัติงานบนพื้นราบเป็นส่วนใหญ่  และการทำงานมีความละเอียดที่สูง  มีระยะผิดพลาดได้น้อย  โดยมีขั้นตอนหลักในการหล่อชิ้นส่วนดังภาพ

 

งานประกอบแบบ

ç 

งานวางเหล็กเสริม 

ç 

งานใส่อุปกรณ์ 

ç 

งานเทคอนกรีต 

 

 

 

 

 

งานประกอบแบบ

เนื่องจากงานหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปส่วนมากจะมีจำนวนรอบในการผลิตซ้ำสูง  จึงต้องการแบบหล่อที่มีความแข็งแรง  แบบที่ใช้ในงานโครงสร้างสำเร็จรูปส่วนใหญ่จึงเป็นแบบเหล็ก  ลักษณะของการประกอบแบบอาจมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปที่ต้องการหล่อ

งานประกอบแบบแผ่นพื้นสำเร็จรูปชนิดตัน

งานประกอบแบบสำหรับแผ่นพื้นสำเร็จรูปชนิดตัน  จะประกอบแบบในแนวยาว  โดยวางแผ่นเหล็กขึ้นรูปตามลักษณะหน้าตัดของแผ่นพื้นไปตลอดทั้งแนว  จากนั้นจึงกั้นแผ่นพื้นเป็น    ช่วง ๆ ตามระยะของความยาวแผ่นพื้นที่ต้องการผลิต

งานประกอบแบบเสาและคาน

การทำงานของการประกอบแบบของเสามีการทำงานเหมือนกันกับการทำงานของการประกอบแบบคาน  คือการวางแบบเหล็กเป็นท้องแบบให้ได้ระดับในแนวราบ  จากนั้นจึงประกอบแบบด้านข้างให้ได้ขนาดตามขนาดของหน้าตัดเสาและหน้าตัดคาน  ยึดแบบด้านข้างด้วยสลักเกลียว  เพื่อให้สามารถรื้อและประกอบแบบสำหรับเทชิ้นส่วนเสาและคานชิ้นต่อไปได้ง่ายและรวดเร็ว  และหากหน้าตัดเสาและคานเป็นหน้าตัดที่มีขนาดเท่า ๆ กันจำนวนมาก  สามารถใช้แบบหล่อชนิดตายตัว

งานประกอบแบบผนัง

การหล่อคอนกรีตผนังส่วนมากทำการหล่อบนพื้นราบในแนวนอน  งานประกอบแบบผนังจึงเป็นการประกอบแบบเหล็กแผ่นในแนวราบเพื่อเป็นท้องแบบ  จากนั้นจึงประกอบแบบข้าง  ซึ่งเป็นตัวกำหนดขนาดความกว้าง  ความยาว  และความหนาของแผ่นผนังที่ทำการหล่อ  การยึดแบบด้านข้างสามารถยึดแบบได้หลายลักษณะ  เช่น  การยึดแน่นติดตายด้วยวิธีการเชื่อม  การยึดแน่นด้วยสลักเกลียว  และการยึดแน่นที่สามารถปรับระยะได้ด้วยแม่เหล็ก

 

งานเทคอนกรีต

งานเทคอนกรีตสำหรับโครงสำเร็จรูปมีวิธีการทำงานและมาตรฐานเช่นเดียวกันกับการ   เทคอนกรีตในที่  คือ  ต้องมีการลำเลียง และเทคอนกรีต โดยไม่ให้ส่วนผสมของคอนกรีตมีการแยกตัว  มีการคำนวณปริมาณคอนกรีตให้พอดีกับแบบที่เตรียมไว้  มีการเขย่าหรือจี้ให้คอนกรีตมีความแน่นตัว  ไม่เกิดช่องว่างของเนื้อคอนกรีต  และเมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วต้องมีการขัดเรียบหรือขัดมันให้ผิวของคอนกรีตมีลักษณะตามความต้องการในการใช้งาน  จากนั้นจึงรอให้คอนกรีตมีการแข็งตัวเพื่อทำการแกะออกจากแบบแล้วจึงบ่มคอนกรีตต่อไปจนคอนกรีตมีความแข็งแรงเพียงพอต่อการจัดส่งและติดตั้ง

ขั้นตอนการจัดส่ง 

ความสำเร็จของการก่อสร้างโดยใช้ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป  นอกจากการผลิตและการติดตั้งที่ดีแล้ว  การจัดส่งก็เป็นกระบวนการที่สำคัญประการหนึ่งเช่นกัน  เพราะการขนส่งเป็นตัวแปรหนึ่งในการก่อให้เกิดความเสียหายต่อชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป  อันเป็นผลให้เกิดความล่าช้าของภาพรวมในการทำงาน  ดังนั้น การจัดส่งจึงมีเป้าหมายหลักในการทำงาน  คือ  การจัดส่งต้องจัดส่งสินค้าให้ถูกต้องครบถ้วน  จัดส่งตามลำดับแผนงานการติดตั้ง  จัดส่งตรงตามระยะเวลาที่กำหนดและเกิดความเสียหายของชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูประหว่างการขนส่งให้น้อยที่สุด

 

สำรวจเส้นทาง
ที่ใช้ขนส่ง

ç 

กำหนดขนาด
รถบรรทุก
 

ç 

จัดบรรทุกชิ้นส่วน 

ç 

ติดตาม
ผลการจัดส่ง
 

 

การสำรวจเส้นทางที่ใช้ขนส่ง

การจัดส่งชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป  โดยทั่วไปควรมีระยะทางในการจัดส่งอยู่ในรัศมีไม่เกิน  250  กิโลเมตรจากโรงงานผลิต  เนื่องจากการขนส่งที่มีระยะทางไกลทำให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้นเกินจุดคุ้มทุนในการลงทุนทำการก่อสร้าง  แต่ในบางครั้งก็มีความจำเป็นที่ต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลตามความต้องการของลูกค้า  การสำรวจเส้นทางการขนส่งเป็นสิ่งจำเป็นในขั้นตอนการจัดส่ง  โดยการสำรวจเส้นทางการขนส่งต้องสำรวจเส้นทางโดยตลอดตั้งแต่รถบรรทุกออกจากโรงงานผู้ผลิต  จนถึงสถานที่ในการก่อสร้าง  มีการระบุปัญหา  อุปสรรค  สิ่งกีดขวาง  และข้อกำหนดต่าง ๆ ในเส้นทางที่ทำการขนส่ง

พิกัดน้ำหนักตามกฎหมาย 

การสำรวจเส้นทางการขนส่งต้องระบุพิกัดน้ำหนักของรถบรรทุก  หรือน้ำหนักสูงสุดในการบรรทุกที่อนุญาตให้ทำการขนส่งที่ออกโดยหน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่น  ซึ่งเป็นผู้ดูแลถนนเส้นนั้น

ความกว้างและสภาพของเส้นทางขนส่ง 

ความกว้างของถนนที่ใช้เป็นเส้นทางขนส่งต้องมีความกว้างเพียงพอต่อขนาดของรถที่ใช้ในการขนส่ง  มีสภาพพร้อมใช้งานไม่มีหลุมหรือบ่อลึกจนรถบรรทุกไม่สามารถวิ่งผ่าน  การสำรวจความกว้างของเส้นทางนี้ต้องสำรวจความโค้งและรัศมีเลี้ยวควบคู่กันไป  เพราะในบางครั้งถึงแม้ถนนมีความกว้างเพียงพอแต่มีรัศมีวงเลี้ยวไม่เพียงพอ  รถขนส่งก็ไม่อาจผ่านเข้าไปได้

ความสูงของสิ่งกีดขวาง 

เส้นทางการขนส่งต้องไม่มีสิ่งกีดขวางที่อยู่ในระดับต่ำกว่าความสูงของส่วนที่สูงที่สุดของรถที่ใช้ขนส่ง  สิ่งกีดขวางในเส้นทางการขนส่งมีหลายชนิด  เช่น  สายไฟฟ้า  สายโทรศัพท์  สะพานลอย  อุโมงค์  และกิ่งไม้  การสำรวจความสูงของสิ่งกีดขวางเหล่านี้ควรสำรวจโดยการวัดระยะความสูงจริง  ไม่ควรอาศัยป้ายบอกความสูงต่าง ๆ เพราะในหลายกรณีพบว่าความสูงของสิ่งกีดขวางมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเทผิวหน้าของถนนเพิ่มในภายหลัง

 

ขั้นตอนการติดตั้ง 

 

ขั้นตอนการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปคือขั้นตอนทั้งหมดที่กระทำในไซด์งานก่อสร้าง  หลังจากที่ชิ้นส่วนสำเร็จรูปถูกผลิตและจัดส่งมายังไซด์งาน  เริ่มตั้งแต่การตรวจรับชิ้นส่วน  การกองเก็บชิ้นส่วนเพื่อรอการติดตั้ง  การจัดเตรียมเครื่องจักรสำหรับยกชิ้นส่วน        การวางแผนการติดตั้ง  การประกอบและติดตั้ง  ตลอดไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ การตรวจสอบคุณภาพการติดตั้ง

 

การตรวจรับชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูป 

เมื่อรถขนส่งได้จัดส่งชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปมายังไซด์งานก่อสร้าง  ผู้ควบคุมงานต้องทำการตรวจรับสินค้าตามมาตรฐานที่ตกลงกันไว้  ด้วยความถูกต้องและรวดเร็ว  เนื่องจากการตรวจรับสินค้าทำให้รถขนส่งต้องจอดกีดขวางการทำงานในไซด์งาน  อีกทั้งเวลาในการจัดส่งของรถแต่ละเที่ยวจะถูกกำหนดตายตัวไว้ในแผนการจัดส่ง  หากการตรวจสอบสินค้าล่าช้าอาจทำให้การจัดส่งสินค้าในเที่ยวถัดไปต้องเลื่อนเวลาในการจัดส่งออกไป  ส่งผลให้แผนการติดตั้งต้องมีการปรับเลื่อนตามการจัดส่งที่ล่าช้าดังกล่าว  วิธีการตรวจรับชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปให้รวดเร็วและถูกต้องมีข้อแนะนำดังนี้

  • ตรวจสอบจำนวนชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปให้ครบจำนวนตามใบจัดส่งในแต่

ละเที่ยว  หากมีจำนวนชิ้นส่วนไม่ครบตามที่ระบุในใบจัดส่ง ให้แจ้งกลับไปยังโรงงานผู้ผลิตทันที

  • ตรวจสอบหมายเลขของชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปให้ตรงกับหมายเลขใน

แบบผลิต เพื่อไม่ให้เกิดการสลับกันของชิ้นส่วน  หากหมายเลขที่ระบุไม่ตรงกับแบบผลิตหรือแบบติดตั้งให้ตรวจสอบจนพบหมายเลขที่ถูกต้อง  แล้วปิดหมายเลขใหม่ที่ถูกต้องแทนหมายเลขเดิม

  • ตรวจสอบขนาดของชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปให้ตรงกับแบบผลิต  หาก

ชิ้นส่วนมีขนาดไม่ตรงกับแบบผลิตให้แจ้งทางโรงงานผู้ผลิตเพื่อทำการแก้ไข

  • ตรวจสอบรอยร้าว  รอยแตก  รอยบิ่นและข้อบกพร่องที่สามารถมองเห็น

ด้วยตาเปล่า  ก่อนยกชิ้นส่วนลงจากรถขนส่ง  เพราะเมื่อยกชิ้นส่วนลงจากรถขนส่งแล้ว  รอยร้าว  รอยแตก  และรอยบิ่นที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกองเก็บชิ้นส่วนใน      ไซด์งาน  ซึ่งจะเป็นความรับผิดชอบของไซด์งาน ทางโรงงานผู้ผลิตจะคิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไข

  • การตรวจสอบรายละเอียด  เช่น  ตำแหน่ง  Plate  ตำแหน่งจุดยึด  ตำแหน่ง

ท่อไฟฟ้า  ท่อประปา  สามารถตรวจสอบภายหลัง  ในระหว่างการกองเก็บเพื่อรอการติดตั้ง  เนื่องจากตรวจสอบรายละเอียดเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบอย่างมาก  อีกทั้งหากพบความผิดพลาดของรายละเอียดดังกล่าวก่อนการติดตั้งทางโรงงานผู้ผลิตต้องทำการแก้ไขเพราะเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการผลิต  ไม่ใช่ความผิดพลาดที่เกิดจากการกองเก็บในภายหลัง

            โดยทั่วไป  ระยะเวลาในการตรวจรับชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปในแต่ละเที่ยวไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง  ยกเว้นจะมีการตกลงกันระหว่างผู้ผลิตและเจ้าของโครงการ  เช่น  ในบางโครงการที่มีสถานที่ในการก่อสร้างค่อนข้างคับแคบ  ไม่มีพื้นที่ในการกองเก็บชิ้นส่วน  ทางผู้ควบคุมงานจึงจำเป็นต้องยกชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปจากรถขึ้นติดตั้งในทันที  ก็สามารถทำได้เพียงแต่ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจะสูงขึ้น  เนื่องจากระยะเวลาที่ต้องรอให้การติดตั้งทำให้จำนวนเที่ยวในการจัดส่งลดลง

การวางแผนการติดตั้ง

การวางแผนการติดตั้ง  มีส่วนสำคัญในการที่จะชี้วัดความสำเร็จของการก่อสร้างโดยใช้ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป  เนื่องจากการวางแผนงานที่ดีจะลดความผิดพลาดและข้อขัดแย้งในการทำงาน  ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน  การวางแผนงานที่ดีควรคำนึงถึงหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  • วางแผนงานโดยคำนึงถึงระยะเวลาการทำงานที่สามารถปฏิบัติได้จริงตาม

ศักยภาพที่มีอยู่  โดยอาศัยประสบการณ์และข้อมูลในอดีตมาคำนวณ  แต่ส่วนมากพบว่าการวางแผนงานการทำงานมักวางแผนงานตามความพึงพอใจของลูกค้า

หรือเจ้าของโครงการ  ทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังอย่างมากมาย  เช่น  เกิดความล่าช้าไม่ตรงตามแผนงานเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถทำได้จริง  ถึงแม้ว่าจะใช้ความพยายามจนถึงที่สุดแล้วก็ตาม  เกิดข้อบกพร่องในการทำงานเนื่องจากมีความรีบเร่งจนเกินไปทำให้ระยะเวลาในการตรวจสอบคุณภาพไม่สัมพันธ์กันกับระยะเวลาที่มีให้  และในบ้างครั้งเกิดความไม่สบายใจในการปฏิบัติงานจนต้องลาออกจากงานเนื่องจากความเครียดในการทำงานบนแผนงานที่บีบรัดจนเกินไป  ทำให้ต้องสูญเสียบุคลากรที่ดีระหว่างการทำงานทำให้ต้องเสียเวลาในการหาผู้ร่วมงานใหม่มาทดแทน

  • วางแผนงานตามลำดับการทำงานที่ถูกต้อง  ไม่มีการข้ามขั้นตอนในการ

ทำงาน  และหากอาคารที่ก่อสร้างมีขนาดใหญ่ควรแบ่งพื้นที่การทำงานออกเป็นส่วนย่อย  เพื่อที่จะได้วางแผนงานโดยมีความละเอียดครอบคลุมในการทำงาน

  • วางแผนงานโดยมีระยะเวลาเผื่อสำหรับแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ระหว่างการทำงาน  เนื่องจากการทำงานจริงย่อมมีข้อผิดพลาดในการทำงานเช่นเกิดการชำรุดเสียหายของชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปจนต้องมีการผลิตใหม่เพื่อทดแทนชิ้นส่วนที่เสียหาย  การวางแผนงานที่มีการเผื่อระยะเวลาในการแก้ไขดังกล่าวจะทำให้การทำงานมีความราบรื่นยิ่งขึ้น

  • ไม่ควรปรับเปลี่ยนแผนงานระหว่างการก่อสร้างโดยไม่จำเป็นเนื่องจากการ

ปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการทำงานหรือการปรับเปลี่ยนลำดับการติดตั้ง  จะส่งผลโดยตรงต่อแผนการผลิตซึ่งมีความยืดหยุ่นได้น้อยและมีค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนค่อนข้างสูง

ในการทำงานจริงมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่าโครงการที่มีการวางแผนงานที่ละเอียดรอบคอบ  มีระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสม  จะส่งผลให้งานก่อสร้างโดยรวมออกมามีความประณีต  มีการแก้ไขน้อย  มีการทำงานครั้งเดียวจบ  ส่งผลให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานทุกฝ่ายปฏิบัติงานอย่างมีความสุข  และยังพบว่าระยะเวลาในการก่อสร้างที่ใช้จริงสั้นกว่าระยะเวลาในการก่อสร้างของโครงการที่มีการวางแผนงานอย่างเร่งรีบโดยไม่ได้อ้างอิงจากพื้นฐานของศักยภาพในการทำงานที่มีอยู่เสียอีก

 
Online:  1
Visits:  37,734
Today:  13
PageView/Month:  1,297